วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Collagen คือ "คอลลาเจน คืออะไร

Collagen คือ "คอลลาเจน คืออะไร"

มีหลายคนสงสัยว่า collagen คือ หรือ คอลลาเจน คืออะไร วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) จะพาคุณๆ มาไขข้อสงสัยเรื่อง collagen คือ หรือ คอลลาเจน คืออะไร กันค่ะ การดูแลตัวเองให้มีผิวพรรณที่ดูดี เปล่งปลั่ง มีผิวหน้าที่ไร้ริ้วรอย ดูอ่อนกว่าวัย เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สาวๆ ทั้งหลายให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากร่างกายที่ต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์มาบำรุงแล้ว สำหรับสาวๆ อย่างเราๆ ผิวพรรณก็เป็นอีกหนึ่งความต้องการที่จำเป็นต้องบำรุงและใส่ใจให้ถึงที่สุด แล้ววันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) จะพาสาวๆ มาพบกับตัวช่วยในการบำรุงผิวพรรณที่ดีอีกชนิดหนึ่งนั่นก็คือ collagen (คอลลาเจน) และเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็เชื่อว่ายังมีสาวๆ ที่ยังไม่ชัดเจนกับตัวช่วยในการดูแลผิวอย่างเจ้าคอลลาเจนนี้ดีสักเท่าไหร่ และก็อยากจะรู้ใช่ไหมหล่ะค่ะว่า collagen คือ หรือ คอลลาเจน คืออะไร วันนี้เราก็ได้นำเอาคำตอบที่หลายๆ คนยังคงสงสัยว่า ollagen คือ หรือ คอลลาเจน คืออะไร มาฝากกันค่ะ รับรองว่าใครที่รู้จักประโยชน์และสรรพคุณว่า collagen คืออะไร และมีดีขนาดไหน คุณก็สามารถนำเจ้าคอลลาเจนนี้มาใช่บำรุงผิวของคุณได้อย่างดีมีประสิทธิภาพและเห็นผลได้ชัดเจนแน่นอนค่ะ ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักกับเจ้า ollagen คือ หรือ คอลลาเจน คืออะไร และจะเป็นตัวช่วยสำหรับผิวพรรณของคุณได้ดีขนาดไหน สาวๆ ทั้งหลายไม่ควรพลาดเลยนะค่ะ


ผิวหนังเราทั้งทำหน้าที่เป็นเกราะกำบังร่างกายต้องสัมผัสกับแดดจ้าฝุ่นควันพิษต่างๆ นาๆ ไม่เว้นแต่ละวัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวพรรณแห้งเหี่ยว หยาบกระด้าง และเกิดริ้วรอย นอกจากนี้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น นอนดึกสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ ฯลฯ ยังเป็นตัวการสำคัญที่คอยเร่งให้ผิวพรรณที่เคยเปล่งปลั่งต้องเสื่อมสภาพก่อนเวลาและวัยอันควรปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเหี่ยวย่นของผิวพรรณก็คือ คอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกายในปริมาณร้อยละ 6 ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดที่มีในร่างกายโดยจะอยู่ภายใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่งจะประกอบด้วยคอลลาเจนถึง 75%



collagen คือ "คอลลาเจน คืออะไร"

คอลลาเจน (collagen) มีสารประกอบที่สำคัญคือ Proteoglycan และ Glyconsaminoglycans ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของผิวเส้นผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ ตลอดจนผนังหลอดเลือด จึงทำให้มีบางคนเรียก คอลลาเจน (collagen) ว่า "กาวแห่งชีวิต" เพราะทำหน้าที่เชื่อมเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเข้าด้วยกันรวมทั้งปกป้องอวัยวะภายในร่างกายให้อยู่ด้วยกันในผิวหนังชั้นหนังแท้ นอกจากนี้ คอลลาเจน (collagen) ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเรียบตึงของผิวหนังทำให้ผิวแข็งแรงและเรียบเนียน โดยจะทำหน้าที่คู่กับโปรตีนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ อีลาสติน (Elastin) ซึ่งช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวและทำให้ผิวไม่มีริ้วรอย ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงมักจะพบเห็นหรือได้ยินการกล่าวถึง คอลลาเจน (collagen) กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในแวดวงความสวยความงาม


การสูญเสีย คอลลาเจน (collagen)

น่าเสียดายที่เราพบข้อเท็จจริงว่าคนเราเมื่อมีอายุ 25 ปีขึ้นไป คอลลาเจน (collagen) จะเริ่มเสื่อมสภาพลงเพราะอัตราการสังเคราะห์ คอลลาเจน (collagen) ใต้ผิวหนังในชั้นหนังแท้จะลดลงถึง 1.5% ต่อปีและเป็นความโชคร้ายที่จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหรือที่เป็นปัญหาเรื่องแก่ก่อนวัยของสาวๆ ซึ่งอัตราการลดลงของ คอลลาเจน (collagen) ในผิวหนังนั้นจะมีผลให้ผิวพรรณค่อยๆ สูญเสียความชุ่มชื้น ยุบตัวลง ผิวที่เคยสวยเต่งตึงก็จะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและสัญญาณของความร่วงโรยจะค่อยๆ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 30 ปีผิวจะเริ่มหย่อนคล้อยยิ่งอายุเพิ่มขึ้นสัญญาณของความร่วงโรยก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว


อัตราการเริ่มสูญเสียคอลลาเจน (collagen) เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป

- อายุ 30-39 ปี ผิวจะเริ่มมีรอยย่นบางๆ ทอดยาวบริเวณหน้าผาก มีริ้วรอยเล็กๆ ใต้ขอบตาล่างและหางตาจะเห็นชัดเวลายิ้มและมีรอยย่นตรงระหว่างคิ้วซึ่งจะเห็นชัดเวลาหน้านิ่ว มีริ้วรอยบางๆ ที่ร่องแก้มจากจมูกจนถึงเหนือริมฝีปาก อาจเกิดไฝ กระ ฝ้าทั้งแบบลึกและตื้นขนาดของรูขุมขนจะเห็นชัดขึ้น

- อายุ 40-49 ปี รอยย่นบริเวณหน้าผาก ระหว่างคิ้ว ใต้ขอบตาล่างและหางตาเห็นชัดเจนมากขึ้น รอยย่นข้างแก้ม และร่องแก้มลึกทอดยาวไปจนจดมุมปาก มีฝ้าชนิดลึกมากขึ้นสภาพผิวเริ่มแห้งมีรูขุมขนใหญ่และเริ่มจะเป็นสิวอีกครั้ง มีติ่งเนื้อขึ้นกระจัดกระจายเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลภาวะนี้เรียกว่าวัยเริ่มตกกระ

- อายุ 50-64 ปี ผิวจะมีสภาพเหมือนกับวัย 40-49 ปี แต่จะมีรอยย่นตามร่องแก้มลึกทอดยาวไปจนถึงบริเวณใต้มุมปาก มีฝ้าเกิดขึ้นและติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น

- อายุ 65 ปี ขึ้นไปผิวหนังหยาบกร้าน มีริ้วรอยทั่วหน้า ริมฝีปากบางมีรอยย่นเหนือริมฝีปาก ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ คล้ายกับวัย 50-64 ปี

ดังนั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนโดยที่เราไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณและรักษาผิวไว้ให้ดูดีให้นานที่สุดได้เช่นเดียวกัน โดยการใช้ สารสกัดโปรตีน คอลลาเจน (collagen) เพื่อทดแทน คอลลาเจน (collagen) ที่สูญเสียไป


การทดแทน คอลลาเจน (collagen) ที่สูญเสียไป

การนำสารสกัดโปรตีน คอลลาเจน (collagen) เข้าสู่ร่างกายเพื่อผลในการบำรุงผิวและลดริ้วรอยนั้นปกติทำได้ 2 วิธีคือ การฉีดเข้าใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้และการรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจาก คอลลาเจน (collagen) เป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่มากดังนั้นจึงไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ด้วยการทา ซึ่งครีมบำรุงผิวต่างๆ ตามท้องตลาดที่มีส่วนผสมของ คอลลาเจน (collagen) ก็จะเป็นเพียงการผลัก คอลลาเจน (collagen) ให้เข้าไปอยู่ได้แค่ชั้นผิวหนังกำพร้า แต่เนื่องจาก คอลลาเจน (collagen) มีคุณสมบัติอุ้มน้ำไว้ได้ประมาณ 30 เท่าของน้ำหนักจึงทำให้ผิวชั้นหนังกำพร้าชุ่มชื้นขึ้นเท่านั้นจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอยได้อย่างเป็นรูปธรรม และหากจะเปรียบเทียบระหว่างการฉีด คอลลาเจน (collagen) เข้าใต้ผิวหนังกับการรับประทานแล้ว จะพบว่า วิธีการรับประทานนั้นง่ายและสะดวกมากกว่าการฉีด ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้การรับประทานนั้นยังเป็นการนำ คอลลาเจน (collagen) เข้าไปเสริมสร้างทั้งส่วนของผิวหน้าและผิวพรรณทั่วร่างกาย โดยผลการวิจัยด้านโภชนาการได้ค้นพบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารที่สกัดจากโปรตีนของปลาทะเลน้ำลึกบางประเภทที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้าง คอลลาเจน (collagen) ของผิวคนเรา โดยวิธีการ Enzymatic Hydrolysis เป็นประจำอย่างต่อเนื่องนั้น สามารถช่วยเสริมสร้าง คอลลาเจน (collagen) ที่สูญเสียไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยปกป้องและชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ความแห้งกระด้าง ช่วยให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื้น นุ่มนวล คงความยืดหยุ่นของผิวไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงเล็บและเส้นผมให้มีสุขภาพดีได้อีกด้วย


บุคคลใดควรรับประทาน คอลลาเจน (collagen)

คอลลาเจน (collagen) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาความอ่อนเยาว์และบำรุงผิวพรรณที่ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลงเนื่องจากวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหญิงและชายที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไปและควรศึกษาคำเตือนบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ก่อนการรับประทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น